การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศส่งต่อผู้ป่วยหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดขอนแก่น
จักรสันต์ เลยหยุด*
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and development) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศส่งต่อผู้ป่วยหน่วยบริการปฐมภูมิจังหวัดขอนแก่น ดำเนินการระหว่าง มกราคม - ธันวาคม 2564 มีการพัฒนา 6 ขั้นตอน คือ 1) รวบรวมความต้องการและวิเคราะห์ปัญหา 2) ออกแบบระบบ 3) ทดสอบต้นแบบเบื้องต้น 4) วิเคราะห์ความต้องการเพิ่มเติม 5) นำต้นแบบพร้อมใช้งานไปปรับใช้จริง 6) บำรุงรักษา โดยนำระบบไปทดสอบใน รพ.สต. 17 แห่ง มีการปรับปรุงเพิ่มเติมและนำไปใช้จริงใน รพ.สต. 248 แห่ง จากนั้นสุ่มประเมินความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่าง 124 คน หลังจากการใช้งาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วย สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วย สถิติ t-test
ผลการศึกษา ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศส่งต่อผู้ป่วยหน่วยบริการปฐมภูมิมีลักษณะ เป็นเว็บแอพพลิเคชั่นที่เชื่อมกับ Server ที่บรรจุข้อมูลการส่งต่อผู้ป่วย ข้อมูลการส่งต่อมีโครงสร้างตามรูปแบบ 43 แฟ้มมาตรฐาน มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับการส่งต่อจำนวน 10 แฟ้ม การบันทึกข้อมูลการส่งต่อผู้ป่วยโดยบันทึกผ่านโปรแกรมระบบข้อมูลสุขภาพ (HIS) การส่งข้อมูลจาก รพ.สต. ไปยัง Server สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น โดยการ Replication เมื่อประมวลผลแล้ว แสดงข้อมูลผ่านเว็บแอพพลิเคชั่นไปยังโรงพยาบาลแม่ข่าย ข้อมูลการส่งต่อสามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็วแบบ Real Time รูปแบบการแสดงผลเป็นแบบ Responsive และแสดงผลข้อมูลสำคัญในการส่งต่อ ผู้ใช้งานเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วยรายบุคคลโดยการ Login ด้วย Username และ Password การประเมินความพึงพอใจหลังจากใช้งานพบว่า มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ระดับสูง เปรียบเทียบความพึงพอใจผู้ใช้งานใน รพ.สต. รูปแบบ PCU และ รพ.สต. รูปแบบ NPCU พบว่า ความพึงพอใจโดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value =0.120)
คำสำคัญ: เทคโนโลยีสารสนเทศ, การส่งต่อผู้ป่วย, หน่วยบริการปฐมภูมิ, ความพึงพอใจ
keywords: Information technology, Referral system, Primary care units, Satisfaction
*สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 408 ครั้ง