วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน
ISSN 3027-8082 (Print)
ISSN 3027-8104 (Online)

วารสารการพัฒนาชุมชน

ปีที่ 1 ฉบับที่ 5
img
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้สารระเหย ในชุมชนจังหวัดขอนแก่น
พูนรัตน์ ลียติกุล* มานพ คณะโต**
บทคัดย่อ
ปัจจุบันปัญหาการเสพสารเสพติด เป็นปัญหาที่มีผลกระทบอย่างมาก ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การเมือง การแพทย์และสาธารณสุข ปัญหาสารเสพติดได้เพิ่มขึ้นทั้งขนาด ความรุนแรง และลุกลามเข้าสู่ชุมชน ปัญหาการใช้สารระเหยในประเทศไทยก็เป็นปัญหาสำคัญ และมีฐานของผู้ใช้จำนวนมากอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สารระเหยเป็นสารเสพติดที่มีจำหน่ายทั่วไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ถึงแม้รัฐบาลจะมีพระราชกำหนดเป็นกฎหมายควบคุมการจำหน่าย สารระเหย แต่ในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยาก รวมถึงการเฝ้าระวังทั้งในผู้เสพและผู้จำหน่ายก็ยากเช่นกัน ถึงจะหามาตรการป้องกันแก้ไขการเสพสารระเหยอย่างไรก็ไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ โดยการศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์ (Analytical study) โดยวิธี Case-Control Study เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้สารระเหยในชุมชนจังหวัดขอนแก่นโดย กลุ่มศึกษา ได้แก่ ผู้ที่เสพสารระเหย มารับการบำบัดที่ศูนย์บำบัดยาเสพติดจังหวัดขอนแก่น หรือเข้าร่วมโครงการกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดขอนแก่นจำนวน 59 คน กลุ่มควบคุมได้แก่ ผู้ที่ไม่เสพสารระเหย ที่อาศัยในชุมชนเดียวกันกับกลุ่มศึกษาเป็นเพศเดียวกัน และมีอายุใกล้เคียงกัน (+ 3 ปี) จำนวน 236 คน ใช้สถิติ ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเสพสารระเหย โดยคำนวณหาค่า Odds Ratio , 95% confidence interval, Chi-Square และ Multiple Logistic Regression
การศึกษาพบว่าปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สารระเหย เมื่อควบคุมอิทธิพลของปัจจัยกวน โดย ใช้ Multiple logistic regression แบบวิธีผลลัพธ์ไปข้างหน้า (forward solution) มีดังนี้สถานภาพสมรสของบิดามารดา (AOR = 2.32 , 95%CI = 1.085 – 4.954, P-value =0.030),การใช้สารเสพติด
*คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
** ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 440 ครั้ง


ติดต่อเรา





เว็บไซต์ที่น่าสนใจ




Flag Counter



2019