วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน
ISSN 3027-8082 (Print)
ISSN 3027-8104 (Online)

วารสารการพัฒนาชุมชน

ปีที่ 12 ฉบับที่ 1
img
การศึกษาเปรียบเทียบระยะเวลาที่ใช้สารเสพติดในผู้เสพสารเสพติด ที่มีอาการทางจิตเวช
ผการัตน์ เรี่ยวแรง*, พูนรัตน์ ลียติกุล**
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ เป็นการศึกษาเชิงบรรยายในกลุ่มผู้เสพสารเสพติดและได้รับการวินิจฉัยว่ามีอาการทางจิต ที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถานบริการของรัฐ รวม 1,000 คน จาก 10 จังหวัดทั่วประเทศ และบุคคลที่เกี่ยวข้องรวม 4,513 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ และประวัติการรักษาผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และ ANOVA ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นชายร้อยละ 93.0 เป็นเยาวชน (อายุไม่เกิน 24 ปี) ร้อยละ 20.0 สถานภาพโสดร้อยละ 64.0 ว่างงานร้อยละ 43.5 พักอาศัยร่วมกับผู้ติดสุราร้อยละ 14.8 พักอาศัยร่วมกับผู้ใช้ยารักษาโรคผิดแบบแผนร้อยละ 17.4 มีญาติและเพื่อนสนิทใช้ยาเสพติดร้อยละ 71.3 กลุ่มศึกษาร้อยละ 79.2 เคยบำบัดยาเสพติดและจิตเวชมาก่อน อาการทางจิต พบว่า มีอาการหวาดระแวง และยังพบว่ามีอาการทางจิตอื่น ๆ ที่อาจชักนำไปสู่ความรุนแรง อาทิ หงุดหงิด ก้าวร้าว หุนหันพลันแล่นความยับยั้งชั่งใจลดลง ประสาทหลอน หลงผิด สับสน กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 66.9 เริ่มเสพยาบ้าเป็นยาชนิดแรก โดยอายุต่ำสุดที่เริ่มเสพ คือ 10 ปี อายุเริ่มเสพเฉลี่ย 19 ปี ในปัจจุบัน ร้อยละ 73.9 ใช้เมทแอมเฟตามีนเป็นตัวยาหลัก (ยาบ้าและไอซ์) ทั้งนี้ร้อยละ 44.4 ใช้ยาเสพติดร่วมกันหลายชนิดในการเสพคราวเดียวกัน (polydrug) ผู้เสพยาเสพติดที่มีอาการทางจิตใช้ยาเสพติดมาเป็นเวลานานเฉลี่ย 12.5 ปี เมื่อจำแนกออกตามชนิดยาที่เสพแล้วมีอาการทางจิต พบว่า ผู้เสพเฮโรอีนใช้เฮโรอีนมาเป็นเวลานานเฉลี่ย 18.8 ปี ผู้เสพยาบ้าเสพมานานเฉลี่ย 12.4 ปี และผู้เสพกัญชาใช้กัญชามาเป็นเวลานานเฉลี่ย 15.7 ปี ระยะเวลาที่ใช้ยาเสพติดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.0001)
คำสำคัญ: สารเสพติด; อาการจิตเวช; ระยะเวลา
Keywords: Substance abuse; Psychiatric symptoms; Duration
* โรงพยาบาลธัญญารักษ์อุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ** คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล


Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 23 ครั้ง


ติดต่อเรา





เว็บไซต์ที่น่าสนใจ




Flag Counter



2019