อัตราการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในโรคเรื้อรังของหน่วยบริการปฐมภูมิ
นวลฉวี เพิ่มทองชูชัย*
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังเพิ่มขึ้นและมีการเข้ารับบริการในหน่วยบริการปฐมภูมิ (PCU) มากขึ้น อัตราการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลที่มีภาวะแทรกซ้อนในระยะสั้นของโรคเรื้อรังสามารถลดลงได้โดยคุณภาพการดูแลรักษา คุณภาพการดูแลรักษาอาจเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการของผู้ให้บริการ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลสำหรับภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน และภาวะแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูง ระหว่างกลุ่มบริการปฐมภูมิที่ได้รับการกระจายอำนาจบริหารจากโรงพยาบาลตติยภูมิและกลุ่มบริการปฐมภูมิที่ไม่ได้รับการกระจายอำนาจบริหารจากโรงพยาบาลตติยภูมิ เป็นการศึกษาทบทวนย้อนหลัง ข้อมูลการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลถูกรวบรวมตามรหัส ICD 10 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความเสี่ยงสัมพัทธ์ และไคว์สแควร์
อัตราการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลที่มีภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานของพื้นที่กระจายอำนาจลดลงอย่างมีนัยสำคัญจากพื้นที่เปรียบเทียบ (RR 0.51 ถึง 0.63) อัตราการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลของภาวะแทรกซ้อนของความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นในทั้งสองพื้นที่ อัตราการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลของพื้นที่กระจายอำนาจต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (RR 0.32 ถึง 0.65) อัตราการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลของโรคเรื้อรังในพื้นที่กระจายอำนาจต่ำกว่าพื้นที่เปรียบเทียบโดยเฉพาะภาวะแทรกซ้อนในระยะสั้นของโรคเบาหวาน
คำสำคัญ: เบาหวาน; ความดันโลหิตสูง; หน่วยบริการปฐมภูมิ; การเข้ารับบริการ
Keywords: Diabetic; Hypertension; Primary care unit; Hospital admission
*โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 47 ครั้ง