ความสัมพันธ์พฤติกรรมการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยจากเสียงและอาการผิดปกติจากการสัมผัสเสียงของพนักงานโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังแห่งหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์
พานิช แก่นกาญจน์*, กัญนิกา อยู่สำราญ*, ศรีสกุล ชนะพันธ์*
บทคัดย่อ
การพัฒนาอุตสาหกรรมปัจจุบันมีการนำเครื่องจักรมาใช้ในกระบวนการผลิตมากขึ้น ส่งผลให้เกิดเสียงดังจากการทำงาน เป็นผลให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดการสูญเสียการได้ยินอย่างถาวร การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความสัมพันธ์พฤติกรรมการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยจากเสียงและอาการผิดปกติจากการสัมผัสเสียงของพนักงานโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษาจำนวน 110 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติ Chi-square test และ Fisher's Exact Test
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 89.1 มีช่วงอายุ 30 – 30 ปี ร้อยละ 52.7 ทำงานแผนก Production ร้อยละ 53.7 สถานภาพโสดและสมรส ร้อยละ 48.18 ใช้ที่ครอบหู (Ear Muffs) ป้องกันเสียงดัง ร้อยละ 39.1 เคยได้รับความรู้หรืออบรมเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์คุ้มครองอันตรายจากเสียง ร้อยละ 93.6 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 91.8 และระยะเวลาการปฏิบัติงานในแผนก ต่ำกว่า 10 ปี ร้อยละ 96.4 ผลการทดสอบความสัมพันธ์ของข้อมูลประชากรกับอาการผิดปกติจากการสัมผัสเสียง ได้แก่ อายุ ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และระดับพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยจากเสียงในระดับพฤติกรรมต้องปรับปรุง (คะแนน <75%) มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติจากการสัมผัสเสียงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p <.05
คำสำคัญ: อาการผิดปกติจากการสัมผัสเสียง; พฤติกรรมความปลอดภัย; พนักงาน
Keywords: Abnormal symptoms of noise exposure; safety behavior; employee
*คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล*
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 89 ครั้ง