บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้วงจรเดมมิ่งในการสนับสนุนมารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการใน โรงพยาบาลบ้านนาสาร จังหวัด สุราษฎร์ธานี จำนวน 52 ราย ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย แล้วจับฉลากเข้ากลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 26 ราย กลุ่มทดลองได้ใช้วงจรเดมมิ่งเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติของโรงพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบ t- test
ผลการศึกษา พบว่า การใช้วงจรวงจรเดมมิ่ง มีผลให้กลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภายหลังการทดลอง 4 เดือน หลังคลอดและกลุ่มตัวอย่างในกลุ่มทดลองมีความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001 เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า ก่อนการทดลองกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมส่วนใหญ่มีคะแนนต่ำกว่า 14 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 88.46 และ 93.31 ตามลำดับ หลังการทดลองกลุ่มทดลองทั้งหมดมีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 14 คะแนนขึ้นไป และกลุ่มควบคุมมีคะแนนมากกว่าหรือเท่ากับ 14 ร้อยละ 88.46 และพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วย
นมแม่อยู่ที่ 2.64 (S.D.= 1.63) กลุ่มควบคุมอยู่ที่ 2.38 (S.D.= 4.61) และพบความแตกต่างระหว่าง 2 กลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.001
คำสำคัญ: นมแม่ หญิงตั้งครรภ์ วงจรเดมมิ่ง
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 1455 ครั้ง