วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน
ISSN 3027-8082 (Print)
ISSN 3027-8104 (Online)

วารสารการพัฒนาชุมชน

ปีที่ 3 ฉบับที่ 7
img
บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental design) กลุ่มเดียววัดสองครั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของโปรแกรมการลดน้ำหนัก โดยประยุกต์แนวคิดแรงจูงใจและความสามารถแห่งตน ต่อการลดน้ำหนัก ลดพุงของอาสาสมัครสาธารณสุข ประกอบด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การส่งเสริมการออกกำลังกาย และการควบคุมอารมณ์และความรู้สึกขณะลดน้ำหนัก กลุ่มตัวอย่าง คืออาสาสมัครสาธารณสุข ที่มีรอบพุงมากเกินเกณฑ์ และสมัครใจเข้าร่วมโครงการ จำนวน 34 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ paired t – test และการทดสอบ chi – square รูปแบบประกอบด้วยจัดกิจกรรมเข้าค่ายพิชิตอ้วน พิชิตพุง พักค้างใช้ระยะเวลา 3 วัน จัดกิจกรรมโดยให้กลุ่มตัวอย่างได้ฝึกปฏิบัติในภารกิจ 3 อ. คือ 1) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร เน้นหลักการบริโภคอาหารเพื่อลดน้ำหนัก 2) การออกกำลังกาย เน้นหลักการออกกำลังกาย เพื่อลดน้ำหนักและรอบพุง 3) การควบคุมอารมณ์และความรู้สึกขณะลดน้ำหนัก ผลการศึกษาพบว่าหลังเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มตัวอย่างมีน้ำหนักลดลง ร้อยละ 76.50 น้ำหนักเท่าเดิม ร้อยละ 20.60 น้ำหนักเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.90 กลุ่มตัวอย่างมีรอบเอวลดลง ร้อยละ 76.50 รอบเอวเท่าเดิม ร้อยละ 20.6 รอบเอวเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2.90 ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มตัวอย่างมีดัชนีมวลกายเฉลี่ย 29.57 หลังเข้าร่วมกิจกรรมมีดัชนีมวลกายเฉลี่ย 28.74 และเปรียบเทียบระดับความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการปฏิบัติตัว และดัชนีมวลกาย สูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.001 คำสำคัญ: ผลของแรงจูงใจ ความสามารถแห่งตน ค่าดัชนีมวลกาย

Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 2871 ครั้ง


ติดต่อเรา





เว็บไซต์ที่น่าสนใจ




Flag Counter



2019