กระบวนการมีส่วนร่วมของพนักงานในการพัฒนาคุณภาพ
สถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ: กรณีศึกษา อาเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ศิริอำพร ทองมำก* , ชำตรี ประชำพิพัฒน์** , สำโรจน์ เพชรมณี***
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ ในอาเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างคือ สถานประกอบการ จานวน 3 แห่ง พร้อมด้วย ผู้ดาเนินการสปา จานวน 3 คน พนักงาน จานวน 12 คน รวม 15 คน คัดเลือกโดยความสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แนวคาถามความคิดเห็นในการพัฒนาสถานประกอบการ 2) แผนการให้ความรู้เรื่องเกณฑ์มาตรฐาน 3) คู่มือการรับรองมาตรฐาน 4) แบบทดสอบความรู้ 5) แบบตรวจสอบมาตรฐาน ทั้งนี้การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ แบบทดสอบความรู้ แผนการให้ความรู้ ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่า IOC = 0.84, 0.87 นาแบบทดสอบความรู้มาหาค่าความเชื่อมั่นโดยการใช้สูตร KR 20 ได้ค่า = 0.87
ผลการศึกษาพบว่า การตรวจสอบสถานประกอบการก่อนการดาเนินการพัฒนาคุณภาพสถานประกอบการ พบว่า สถานประกอบการทั้ง 3 แห่ง ยังไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของสถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพโดยแห่งที่ 1 ได้ คะแนน 47 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 88.68 สถานประกอบการแห่งที่ 2 ได้ คะแนน 50 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 94.33 และ สถานประกอบการแห่งที่ 3 ได้คะแนน 44 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 83.02 และหลังการดาเนินงาน พบว่า สถานประกอบการสปาเพื่อสุขภาพ ทั้ง 3 แห่ง ได้คะแนน 53 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 100 หมายความว่าสถานประกอบการ สปาเพื่อสุขภาพ ทั้ง 3 แห่ง มีการดาเนินงานอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและผ่านการรับรองมาตรฐาน ทั้ง 3 แห่ง
คำสำคัญ : สถานบริการสปาเพื่อสุขภาพ การมีส่วนร่วมของพนักงาน เกณฑ์มาตรฐานสปา เพื่อสุขภาพ
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 1522 ครั้ง