วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน
ISSN 3027-8082 (Print)
ISSN 3027-8104 (Online)

วารสารการพัฒนาชุมชน

ปีที่ 54 ฉบับที่ 1
img
บทคัดย่อ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ในครั้งนี้ มีขั้นตอนและมีผลการวิจัย จาแนกตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ขั้นที่ 1 ศึกษาสถานการณ์และปัญหาอุปสรรคในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อจังหวัดยโสธร จากเอกสารและงานวิจัยกาหนดเป็นกรอบการวิจัย และจัดการสนทนากลุ่ม (Focus Group) 5 กลุ่มๆ ละ 9 คน พบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเรื่องมูลฝอยติดเชื้อ หน่วยงานสาธารณสุข มีปัญหาในการคัดแยก รวบรวม เก็บขน และนาส่ง และยังไม่มีรูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชนที่ชัดเจน ขั้นที่ 2 สร้างรูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อจังหวัดยโสธร ประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ และองค์ประกอบ 6 ประเด็น คือ 1) ระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) ระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการการสาธารณสุข 3) ระบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน 4) ขั้นตอนการปฏิบัติงานในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ 5) ระบบรายงานการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ 6) ระบบควบคุม กากับ และติดตามผลการดาเนินงาน ซึ่งผู้รอบรู้เฉพาะทางตรวจสอบแล้วว่ามีความเหมาะสมในระดับมากถึงมากที่สุด ขั้นที่ 3 ปฏิบัติการทดลองใช้รูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อจังหวัดยโสธรใน 1 อาเภอ เขตพื้นที่โรงพยาบาลชุมชน 1 แห่ง และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล 2 แห่ง ในเดือนกรกฎาคม – กันยายน 2560 พบว่า มีการพัฒนาการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในพื้นที่ ขั้นที่ 4 ประเมินผลจากการทดลองใช้รูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อจังหวัดยโสธร พบว่า หลังการทดลอง สถานบริการการสาธารณสุขมีการจัดการมูลฝอยติดเชื้อได้ตามมาตรฐานวิชาการและกฎหมายกาหนดมากยิ่งขึ้น และในชุมชนมีรูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อที่ชัดเจน ผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อมีความพึงพอใจในภาพรวมในระดับมากถึงมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 100.00 คำสำคัญ มูลฝอยติดเชื้อ การจัดการมูลฝอยติดเชื้อจังหวัดยโสธร

Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 4118 ครั้ง


ติดต่อเรา





เว็บไซต์ที่น่าสนใจ




Flag Counter



2019