บทคัดย่อ หลักการและวัตถุประสงค์การวิจัยเชิงคุณภาพครั ้งนี ้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ปัจจุบัน ตัวตน และการถ่ายทอดภูมิปัญญาเพื่อการคงอยู่ของหมอพื ้นบ้านชนเผ่ากะเลิง ในจังหวัด นครพนม ระเบียบวิธีศึกษา เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยคัดเลือกแบบจ าเพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บข้อมูลโดยใช้แนวค าถามการสัมภาษณ์เชิงลึก ประเด็นการสนทนากลุ่ม ประเด็นการ สังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ในระหว่างเดือนมกราคม – กรกฎาคม 2560 วิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณโดยการแจกแจงความถี่และร้ อยละ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์ เชิงเนื ้อหา (content analysis) ผลการศึกษา หมอพื ้นบ้านชนเผ่ากะเลิงในจังหวัดนครพนม ส่วนใหญ่เป็ นเพศชาย มีอายุ เฉลี่ย 63.1 ปี มีระยะเวลาในการท าหน้าที่เป็ นหมอพื ้นบ้านเฉลี่ย 32.2 ปี การศึกษาของหมอพื ้นบ้าน ส่วนใหญ่จบการศึกษาชั ้นประถมศึกษาชั ้นปี ที่ 4 ไม่ได้ประกอบอาชีพ และหมอพื ้นบ้านชนทุกคนนับ ถือศาสนาพุทธ การถ่ายทอดภูมิปัญญาหมอพื ้นบ้านมาจากการเจ็บป่ วยของหมอพื ้นบ้านและได้รับ การรักษาจากหมอพื ้นบ้านและได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาต่อและเกิดจากการถ่ายทอดจากบรรพ บุรุษ ให้ผู้สืบทอดที่เป็ นลูกหลาน ประเภทของหมอพื ้นบ้านมี หมอยาตั ้ง หมอไม้ตอก หมอเหยา หมอ จอดกระดูก หมอนวด และหมอยาต้ม วิธีการรักษาของหมอพื ้นบ้านมีดังนี ้ 1) ผู้ป่ วยตั ้งครู 2) ซัก ประวัติเกี่ยวกับสาเหตุและอาการเจ็บป่ วย 3) ตรวจดูต าแหน่งที่บาดเจ็บและต าแหน่งที่จะรักษา 4) ท าการรักษาตามกระบวนการของหมอพื ้นบ้านแต่ละประเภท และ 5) การให้ค าแนะน าการปฏิบัติ ตัวหลังการรักษา รูปแบบการถ่ายทอดภูมิปัญญาหมอพื ้นบ้านโดยการบอกล่าวให้ฟัง การเรียนรู้ จาก การสังเกต การจดเคล็ดลับวิชา คาถาให้ผู้สืบทอด ถูกเลือกให้สืบทอดโดยผี(พ่อปู่) และการได้รับการ ถ่ายทอดจากหลายๆ วิธีร่วมกัน ปัญหาและอุปสรรคในการถ่ายทอดภูมิปัญญาหมอพื ้นบ้านเกิดจาก 3 ปัจจัย คือ หมอผู้ถ่ายทอด ผู้สืบทอด ด้านเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อภิปรายและข้อสรุป หมอพื ้นบ้านเป็ นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่าและประโยชน์ต่อระบบ สุขภาพของไทย เนื่องจากเป็ นการดูแลสุขภาพที่ครอบคลุมองค์รวมและโดดเด่นด้านการดูแลด้านจิต สังคมและจิตวิญญาณที่การแพทย์แผนปัจจุบันไม่สามารถให้การดูแลได้ แต่กลับถูกปฏิเสธจาก
ระบบการแพทย์กระแสหลัก ดังนั ้น จึงควรให้ผู้ดูแลระบบสุขภาพและผู้ปฏิบัติการด้านการดูแล สุขภาพในปัจจุบันเปิ ดกว้างให้หมอพื ้นบ้านได้เป็ นทางเลือกในการน ามาใช้ในการแลสุขภาพของ ประชาชนให้มากขึ ้นและควรส่งเสริม สนับสนุนให้หมอพื ้นบ้านยังคงอยู่คู่กับระบบสุขภาพของคนไทย ต่อไป
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 769 ครั้ง