ธิดารัตน์ สมดี*, ประมวล พันธุ์คุ้มเก่า**, พรรณิกา งามโพธิ***, สุณีรัตน์ ยั ์ ่งยืน*, อุดมศักดิ มหาวีรวัฒน์* ์ , สุพัตรา แก้วเมือง*, ชัชชฎา มหาวีรวัฒน์****
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดําเนินงานของ ผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ดูแลผู้สูงอายุ จํานวน 58 คน ผู้สูงอายุที่มีภาวะ พึ่งพิง จํานวน 100 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ดูแลผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 69.0) มีอายุเฉลี่ย 54.98 ปี มีผู้สูงอายุในความดูแลจํานวน 1-5 คน (ร้อยละ 82.8) ความถี่ของการให้การดูแล 2 ครั้ง/ สัปดาห์ (ร้อยละ 100.0) มีระดับความรู้ในการดูแลผู้สูงอายุในระดับปานกลาง (ร้อยละ 65.5) มี ทักษะในการดูแลผู้สูงอายุในระดับปานกลาง (ร้อยละ 67.2) ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจต่อการบริการ ของนักบริบาลผู้สูงอายุ ในระดับสูง (ร้อยละ 40.0) มีการฟื้นฟูองค์ความรู้อย่างน้อย 1 ครั้ง/ปีและ เพิ่มเนื้อหาในประเด็นต่าง ๆ เช่น การรักษาพยาบาลเบื้องต้น การดูแลสุขภาพจิต แพทย์แผนไทย เป็นต้น และความรู้และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับผลการดําเนินงานของผู้ดูแล ผู้สูงอายุอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r=0.414,p=0.001; r=0.547,p=0.001 ตามลําดับ) ผลการศึกษา ชี้ให้เห็นว่า ความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานของผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความสําคัญต่อการให้การดูแล ผู้สูงอายุ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจัดอบรมฟื้นฟูองค์ความรู้และทักษะให้ผู้ดูแลผู้สูงอายุ อย่างต่อเนื่อง ทําให้มีความมั่นใจและเชื่อมั่นในตัวเองในการให้บริการดูแลผู้สูงอายุมากขึ้น
คําสําคัญ: ผู้ดูแลผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, ผลการดําเนินงาน
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 426 ครั้ง