คุณภาพชีวิตของผู้เสพยาเสพติดหลังการบำบัดในโรงพยาบาลบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
สาธิตา เรืองสิริภคกุล*, วงเดือน เพชรสังหาร*
บทคัดย่อ
ปัญหายาเสพติดถือเป็นปัญหาที่สำคัญทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย จากข้อมูลของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2561 พบว่า ยาบ้าเป็นยาเสพติดที่มีผู้เสพมากที่สุด การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบไปข้างหน้า มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตหลังได้รับการบำบัดและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้เสพยาเสพติด โดยสุ่มตัวอย่างจากผู้เสพยาเสพติดที่ขึ้นทะเบียนบำบัดยาเสพติดในโรงพยาบาลบรบือเฉพาะผู้ที่อยู่ระหว่างการบำบัดในช่วง 1 กันยายน ถึง 23 พฤศจิกายน 2563 จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามให้ผู้ป่วยตอบด้วยตนเอง และวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS version 26 ลิขสิทธิ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 73.3 อายุเฉลี่ย 29 ปี จบมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 43.3 ว่างงานร้อยละ 36.7 ส่วนมากโสด ร้อยละ 56.7 เป็นผู้สมัครใจบำบัดร้อยละ 70 ใช้ยาเสพติดหลายชนิดร่วมกันกับยาบ้า เช่น กัญชา ยาไอซ์ บุหรี่ สุรา คิดเป็น ร้อยละ 43.3 คุณภาพชีวิตพบว่า ร้อยละ 96.67 มีคุณภาพชีวิตอยู่ในเกณฑ์ที่ดี หรืออยู่ในระดับกลาง ๆ เท่า ๆ กับคนทั่วไป เมื่อเปรียบเทียบ คุณภาพชีวิตครั้งที่ 2 หลังบำบัดครบ 1 เดือน พบว่า ผู้ป่วย ส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตดีขึ้นกว่าครั้งที่ 1 หลังบำบัดครบ 1 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
คำสำคัญ: คุณภาพชีวิต, ยาบ้า, เมทแอมเฟตามีน, โปรแกรมแมทริกซ์
Keywords: quality of life, metamphetamine, matrix program
*โรงพยาบาลบรบือ จังหวัดมหาสารคาม
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 395 ครั้ง