ลักษณะครอบครัวกับการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ในหน่วยบริการปฐมภูมิในตัวเมือง จังหวัดขอนแก่น
กิตติมา เทพรังศิริกุล*, วริสรา ลุวีระ**
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะครอบครัวและความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างครอบครัวกับการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการรักษาที่หน่วยบริการปฐมภูมิในตัวเมืองของจังหวัดขอนแก่น จำนวน 167 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้กรอบเวลา (Time frame allocation) ในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงสิงหาคม พ.ศ. 2562 ด้วยแบบสอบถามชนิดสัมภาษณ์ โดยสถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความชุก สัดส่วน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติเชิงวิเคราะห์ โดยใช้ Chi-square test
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.3 อายุอยู่ในช่วง 70-79 ปี ร้อยละ 37.7 อยู่ในครอบครัวขยาย ร้อยละ 56.3 ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างครอบครัวกับการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผู้ป่วยที่อยู่ในครอบครัวที่มีสมาชิกตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป จะมีการปฏิบัติตัวที่ดีกว่าผู้ป่วยที่มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวที่น้อยกว่า
คําสําคัญ: ครอบครัว, เบาหวาน, หน่วยบริการปฐมภูมิ
*โรงพยาบาลบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น
**ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 366 ครั้ง