วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน
ISSN 3027-8082 (Print)
ISSN 3027-8104 (Online)

วารสารการพัฒนาชุมชน

ปีที่ 9 ฉบับที่ 1
img
การสัมผัสควันบุหรี่มือสองของพนักงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ จังหวัดนครปฐม
สุวัฒนา เกิดม่วง*, ศักดิกร สุวรรณเจริญ*, นิชากร เย็นสบาย*
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสัมผัสควันบุหรี่มือสองและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสัมผัสควันบุหรี่มือสองของพนักงานในสถานประกอบการอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ โดยประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE Model เป็นกรอบในการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานที่ไม่สูบบุหรี่ในสถานประกอบการอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม จำนวน 200 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย (ร้อยละ 58.00) อายุเฉลี่ย 29.40 ปี (S.D. = 6.74) ส่วนใหญ่เคยสัมผัสควันบุหรี่มือสอง (ร้อยละ 54.00) โดยในหนึ่งเดือนที่ผ่านมาพบพนักงานมีการสัมผัสควันบุหรี่มือสองจากสถานที่สาธารณะ ที่บ้าน และสถานที่ทำงาน (ร้อยละ 57.40, 44.40, และ 35.20) ตามลำดับ โดยสถานประกอบการมีนโยบายการห้ามสูบบุหรี่ (ร้อยละ 97.50) และมีจัดการอบรมให้ความรู้เรื่องควันบุหรี่มือสองให้แก่พนักงาน (ร้อยละ 55.50) เมื่อทดสอบความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยเอื้อด้านสถานที่ที่สัมผัสควันบุหรี่มือสอง บุคคลในครอบครัวที่สูบบุหรี่ ความถี่ในการสัมผัสควันบุหรี่มือสอง และปัจจัยเสริมด้านแรงสนับสนุนจากครอบครัว/เพื่อนร่วมงาน มีความสัมพันธ์กับการสัมผัสควันบุหรี่มือสองของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ผลการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางให้กับสถานประกอบการในการส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันการสัมผัสควันบุหรี่มือสองที่เหมาะสม
คำสำคัญ: การสัมผัส, ควันบุหรี่มือสอง, พนักงาน, สถานประกอบการอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์
Keywords: exposure, secondhand smoke, employee, auto parts manufacturing industry
* วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก


Download PDF Now
ดาวน์โหลดแล้ว 361 ครั้ง


ติดต่อเรา





เว็บไซต์ที่น่าสนใจ




Flag Counter



2019